แผนการเรียนรู้แบบ 5 E

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  วิชา วิทยาศาสตร์                                          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เซลล์ : หน่วยของสิ่งมีชีวิต                                                                 จำนวน 10 ชั่วโมงเรื่อง เซลล์พืชและเซลล์สัตว์                                                                                                       เวลา 2 ชั่วโมง
ครูผู้สอนนางสาววิไลพร  หนูสิน                                                              โรงเรียนป้อมนาคราชสวาทยานนท์


1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
ตัวชี้วัด
        ว 1.1 ม.1/4  ทดลองและอธิบายหน้าที่ของส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
2. สาระสำคัญ
            เซลล์พืชมีรูปร่างสี่เหลี่ยม มีคลอโรฟิลล์ และผนังเซลล์หนา เซลล์สัตว์รูปร่างค่อนข้างกลม ไม่มีคลอโรฟิลล์และผนังเซลล์ เซลล์พืชสร้างอาหารเองได้ เพราะมีคลอโรฟิลล์ เซลล์สัตว์สร้างอาหารเองไม่ได้เพราะไม่มีคลอโรฟิลล์
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถบอกลักษณะของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้ (K)
2. นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ (P)
3. นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน (A)
4. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ (engagement)
1. ครูทบทวนเรื่องกล้องจุลทรรศน์ แล้วโยงไปหาสิ่งมีชีวิตของพืชและสัตว์ว่าประกอบด้วยหน่วยเล็กๆ เหล่านี้ เพื่อให้นักเรียนเปรียบเทียบในกิจกรรมต่อไป
            2. ครูถามคำถามสำคัญ­เพื่อนำนักเรียนเข้าสู่กิจกรรมโดยครูถามคำถามสำคัญ­ ดังนี้
- นักเรียนใช้กล้องจุลทรรศน์ศึกษาลักษณะของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้หรือไม่
- เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีลักษณะรูปร่าง เหมือนหรือแตกต่างกัน
ขั้นที่ 2 สำรวจและค้นหา (exploration)
            1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน ศึกษาวิธีทำกิจกรรม เรื่อง ศึกษาเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
2. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
                        - นักเรียนคิดว่าเซลล์พืชและเซลล์สัตว์เหมือนกันหรือไม่ อย่างไร (ไม่เหมือนกัน เซลล์พืชมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม เซลล์สัตว์มีรูปร่างค่อนข้างกลม)
            3. อธิบายวิธีการทำแผ่นสไลด์ให้นักเรียนเข้าใจ โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มลองทำแผ่นสไลด์
            4. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำแผ่นสไลด์เยื่อหัวหอม แผ่นสไลด์สาหร่ายหางกระรอก แผ่นสไลด์ผิวใบว่านกาบหอย และแผ่นสไลด์เยื่อบุข้างแก้ม
            5. ให้นักเรียนศึกษาภาพเซลล์ที่มองเห็นจากกล้องจุลทรรศน์ พร้อมบันทึกผลการทำกิจกรรม แล้วตอบคำถามท้ายกิจกรรม เรื่อง ศึกษาเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป (explanation)
          1. ให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับกล้องจุลทรรศน์ โดยครูใช้คำถามหลังทำกิจกรรมตามคำถามในใบกิจกรรม เรื่อง ศึกษาเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ดังนี้
             - รูปร่างของเซลล์เยื่อหัวหอม เซลล์สาหร่ายหางกระรอก และเซลล์ผิวใบว่านกาบหอย มีลักษณะคล้ายกันอย่างไร (มีลักษณะเป็นรูปเหลี่ยมๆ เรียงต่อกันเป็นช่องๆ)
            - เซลล์ผิวใบว่านกาบหอยมีลักษณะแตกต่างจากเซลล์พืชชนิดอื่นอย่างไร (เซลล์ที่เป็นช่องสี่เหลี่ยม 2 เซลล์ และเซลล์ที่มีลักษณะเมล็ดถั่ว 2 เมล็ดประกบกัน)
       - เซลล์ที่พบในใบว่านกาบหอยเรียกว่าอะไร (เซลล์ปากใบหรือเซลล์คุมพบในใบว่านกาบหอย)
       - เซลล์เยื่อหัวหอมต่างจากเซลล์สาหร่ายหางกระรอกอย่างไร (เซลล์เยื่อหัวหอมมองเห็นนิวเคลียสชัดเจนและไม่มีคลอโรพลาสต์ เซลล์สาหร่ายหางกระรอกเห็นนิวเคลียสไม่ชัดเจนและมี               คลอโรพลาสต์)
            - เซลล์เยื่อบุข้างแก้มมีส่วนประกอบอะไรบ้าง (เยื่อหุ้มเซลล์ นิวเคลียส และไซโทพลาซึม)
                        - ลักษณะของเซลล์เยื่อบุข้างแก้มกับเซลล์ผิวใบว่านกาบหอยต่างกันอย่างไร (เซลล์เยื่อบุข้างแก้มมีรูปร่างไม่เป็นเหลี่ยม เซลล์ผิวใบว่านกาบหอยมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม และมีเม็ดคลอโรพลาสต์)



ขั้นที่ 4 ขยายความรู้ (elaboration)
1. ครูอธิบายตารางเปรียบเทียบส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์เพิ่มเติม
ส่วนประกอบ
เซลล์พืช
เซลล์สัตว์
1. รูปร่าง
สี่เหลี่ยม
กลมรี
2. ผนังเซลล์
มี
ไม่มี
3. เยื่อหุ้มเซลล์
มี
มี
4. คลอโรพลาสต์
มี
ไม่มี
5. นิวเคลียส
มี
มี
6. ไซโทพลาซึม
มี
มี

ขั้นที่ 5 ประเมิน (evaluation)
1. ครูประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน ดังนี้
- สังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรม
- สังเกตการร่วมอภิปราย การตอบคำถามในชั้นเรียน และการตอบคำถามในใบงาน
5. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
            2. ใบกิจกรรม เรื่อง ศึกษาเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
6. การวัดผลประเมินผล
สิ่งที่ต้องการวัดและประเมินผล
วิธีวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
1. นักเรียนสามารถบอกลักษณะของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้ (K)
2. นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ (P)
3. นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน (A)
1.  การถาม-ตอบ
2.  ตรวจใบกิจกรรม เรื่อง ศึกษาเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
3.  สังเกตพฤติกรรม
1.    คำถาม
2.    ใบกิจกรรม เรื่อง ศึกษาเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
3.    แบบสังเกตพฤติกรรม
1.       นักเรียนตอบคำถามถูกต้องร้อยละ 80
2.       นักเรียนทำใบกิจกรรม เรื่อง ศึกษาเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ถูกต้องร้อยละ 70
3.       นักเรียนผ่านการประเมินการสังเกตพฤติกรรมระดับ 2 ขึ้นไป




7. บันทึกผลการจัดการเรียนรู้
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
8. ปัญหาและอุปสรรค
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
9. ข้อเนอแนะและแนวทางแก้ไข
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
                                                                                        ลงชื่อ……………………………… ผู้สอน
                                                                                                  (นางสาววิไลพร  หนูสิน)
                                                                                 วันที่ ........ เดือน ......................... พ.ศ. ..............
ข้อเสนอแนะของครูพี่เลี้ยง..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                                                                                            ลงชื่อ ....................................................................
                                                                                                  ( นางสาวอำพร  พลเพ็ง )
                                                                                                 ครูพี่เลี้ยง












แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติการกลุ่ม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
วันที่ ………. เดือน …………………………………. .. ……..………..

พฤติกรรม


กลุ่มที่
การวางแผนร่วมกัน
การแบ่งงาน
รับผิดชอบ
ความสะอาดเรียบร้อย
ผลสำเร็จของงาน
สรุปผลการ
ประเมิน
3
2
1
3
2
1
3
2
1
3
2
1
คะแนนเฉลี่ย
(12 คะแนน)
1













2













3













4













5













6














ลงชื่อ……………………………………………………….ผู้ประเมิน
(นางสาววิไลพร  หนูสิน)
เกณฑ์การให้คะแนน
ระดับ 3 หมายถึง มีผลการปฏิบัติมาก
ระดับ 2 หมายถึง มีผลการปฏิบัติปานกลาง
ระดับ 1 หมายถึง มีผลการปฏิบัติน้อย

เกณฑ์การประเมิน
ระดับ
ช่วงคะแนน
ระดับคุณภาพ
3
9-12
ดี
2
5-8
พอใช้
1
1-4
ปรับปรุง









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น